ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ของ วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ

วิทยุย่านวีเอชเอฟทางทะเลส่วนใหญ่ใช้การส่งสัญญาณแบบฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (half-duplex) ที่ไม่ใช้รีเลย์ การสื่อสารระหว่างสถานีเรือกับสถานีเรือจะเป็นการใช้เพียงความถี่เดียว ในขณะที่การสื่อสารระหว่างสถานีเรือกับสถานีฝั่งใช้สองความถี่ แต่โดยปกติจะมีเพียงฝั่งใดฝั่งหนึ่งเท่านั้นที่เป็นผู้ส่งในแต่ละครั้ง (อย่าสับสนกับการสื่อสารแบบซิมเพล็กซ์ เช่น วิทยุกระจายเสียง ที่ฝ่ายหนึ่งส่งสัญญาณออกมาอย่างสม่ำเสมอ) ซึ่งปกติเครื่องรับส่งสัญญาณจะอยู่ในโหมดรับ และหากจะส่งสัญญาณผู้ใช้งานจะต้องกดปุ่ม "กดเพื่อพูด" (Push-to-talk) บนชุดอุปกรณ์หรือบนไมโครโฟนซึ่งจะเปิดใช้งานโหมดส่งและปิดโหมดรับสัญญาณ อย่างไรก็ตาม บางช่องสัญญาณเป็นช่องสัญญาณแบบ "ดูเพล็กซ์" (duplex) ซึ่งการสื่อสารสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสองทิศทางพร้อมกัน เมื่ออุปกรณ์ทั้งสองฝั่งอนุญาต[7] แต่ละช่องฟลูดูเพล็กซ์มีการกำหนดความถี่อยู่จำนวนสองชุด ซึ่งสามารถใช้ช่องสัญญาณดูเพล็กซ์เพื่อใช้โทรออกผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะโดยมีค่าธรรมเนียมผ่านผู้ให้บริการเดินทะเล เมื่อใช้โหมดฟูลดูเพล็กซ์ (full-duplex) การโทรจะคล้ายการโทรศัพท์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์บ้าน แต่เมื่อใช้แบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ เสียงจะถูกส่งไปครั้งละทิศทางเท่านั้น และผู้ใช้งานบนเรือจะต้องกดปุ่มส่งสัญญาณเฉพาะเวลาที่พูดเท่านั้น โดยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนี้ยังสามารถใช้งานได้ในบางพื้นที่ แม้ว่าการใช้งานจะลดลงไปเนื่องจากการเกิดขึ้นของโทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์ดาวเทียม ซึ่งวิทยุย่านวีเอชเอฟทางทะเลนั้นสามารถรับสัญญาณการออกอากาศสภาพอากาศผ่านวิทยุได้หากมีระบบนี้ให้บริการอยู่ในพื้นที่

ข้อตกลงที่เป็นที่ยอมรับในการใช้งานวิทยุทางทะเล เรียกรวมกันว่า "ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม" ซึ่งรวมไปถึงตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ มีดังนี้:

  • แต่ละสถานีควรเฝ้าฟังก่อนเป็นเวลา 30 วินาที ก่อนส่งสัญญาณออกอากาศ และไม่รบกวนสถานีอื่น
  • ช่องหลักสำหรับการเฝ้าฟังคือช่อง 16 เมื่อไม่ได้ใช้งานวิทยุในการออกอากาศ เนื่องจากการเรียกขานทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่ช่อง 16 ยกเว้นช่องการใช้งานแจ้งเหตุประสบภัย ให้สลับไปที่ช่องใช้งานช่องสถานีเรือกับสถานีเรือ หรือ ช่องสถานีเรือกับสถานีฝั่ง (ขั้นตอนจะแตกต่างกันไปในสหรัฐเฉพาะเมื่อมีการเรียกขานในช่อง 9)
  • ในระหว่างการปฏิบัติการช่วยเหลือ (distress operations) ควรงดใช้ความถี่ในช่อง 16 โดยหลังจากสถานการณ์สิ้นสุดแล้ว สถานีควบคุมข่ายจะขานด้วยรหัสคำพูดว่า "Silence Fini" และให้ใช้ความถี่ได้ตามปกติ ซึ่งหากใช้งานช่อง 16 ในระหว่างปฏิบัติการช่วยเหลือ สถานีควบคุมข่ายจะออกคำสั่งว่า "silence mayday"
  • การใช้งานชุดคำ "การเรียกขาน" ระหว่างประเทศ เช่น
    • "เมย์เดย์" (Mayday) สำหรับแจ้งเหตุร้าย
    • "แพน-แพน" (Pan-pan) สำหรับแจ้งเหตุเร่งด่วน
    • "Sécurité" สำหรับการแจ้งเหตุอันตรายจากการเดินเรือ
  • การใช้งานรหัสคำพูด[16] (Procedure word: Pro-words) มีพื้นฐานมาจากภาษาอังกฤษ เช่น In figures, In letters, Over, Out, Radio check, Read back (ภาษาท้องถิ่นใช้สำหรับบางคำเมื่อพูดคุยกับสถานีท้องถิ่น)
  • ใช้การออกเสียงตัวอักษรของการสื่อสารวิทยุ (NATO phonetic alphabet) : Alfa, Bravo, Charlie, Delta, Echo, Foxtrot, Golf, Hotel, India, Juliett, Kilo, Lima, Mike, November, Oscar, Papa, Quebec, Romeo, Sierra, Tango, Uniform, Victor, Whiskey, X-ray, Yankee, Zulu
  • ใช้ระบบออกเสียงตามภาษาอังกฤษหรือการผสมผสานระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาโรมัน: Wun, Too, Tree, Fow-er, Fife, Six, Sev-en, Ait, Nin-er, Zero, Decimal; ตัวเลือกอื่นในการสื่อสารทางทะเล: unaone, bissotwo, terrathree, kartefour, pantafive, soxisix, setteseven, oktoeight, novenine, nadazero

ข้อกำหนดที่ได้รับการปรับแต่งมีการนำไปใช้งานกับการขนส่งภายในประเทศได้ เช่น กฎบาเซิลในยุโรปตะวันตก

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ https://www.viestintavirasto.fi/attachments/Rannik... https://doi.org/10.1177%2F0002716229142001S09 http://jproc.ca/rrp/nro_ww2.html http://www.allaboutais.com/index.php/en/technical-... http://nebula.wsimg.com/08ac6f768a2ba3f85f01b41f5e... https://www.gov.uk/government/publications/mgn-324... https://web.archive.org/web/20100920105428/http://... http://www.arrl-al.org/Railroad%20Communications%2... http://www.navcen.uscg.gov/?pageName=mtvhf https://web.archive.org/web/20161007144151if_/http...